ReadyPlanet.com
dot dot
dot
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ article

 

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)
วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร
“พระอริยเจ้าผู้เป็นปราชญ์แห่งภาคอีสาน”

      พระเดชพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ท่านเป็นพระบูรพาจารย์ทั้งทางฝ่ายปริยัติและปฏิบัติ เป็นผู้มีคุณูปการต่อวงศ์ธรรมยุตและวงศ์กรรมฐานบนแผ่นดินไทยอย่างหาที่สุดมิได้ ท่านมีอันเตวาสิกที่สำคัญ คือ ท่านพระอาจารย์ เสาร์ กนฺตสีโล พระปัญญาพิศาลเถร (หนู) และท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ฯลฯ

       ท่านเป็นผู้มีนิสัยองอาจ อาจหาญร่าเริงในธรรม มีธรรมเป็นที่ตั้ง ไม่เห็นแก่หน้าและพวกพ้อง อีกทั้งยังเป็นผู้ยินดีในสัมมาปฏิบัติ สันโดษมักน้อย ใฝ่ใจในสัลเลขปฏิบัติ ประกอบด้วยธุดงควัตร เที่ยวรุกขมูล รักษาขนบธรรมเนียมของสมณะที่ดีไว้มั่นคง มีสติสัมปชัญญะทุกเมื่อ มีความเยือกเย็นอาจหาญอดกลั้น ทนทานต่อสถานการณ์ต่างๆ แม้ในยามอาพาธใกล้ตาย พิษของโรคร้ายรุนแรงรุมเร้าด้วยทุกขเวทนายิ่งนัก ท่านยังได้ให้โอวาทแก่ผู้มาเยี่ยมเยือนว่า

       “เราเป็นนักรบ ได้ฝึกหัดวิธีรบไว้ก็ไม่เสียที ได้ผจญต่อพยาธิธรรมและมรณธรรมจริงๆ ก็อาจหาญอดกลั้นทนทานไม่สะทกสะท้าน มีสติสัมปชัญญะรอบคอบ ไม่หลงใหลไม่ฟั่นเฟือน ไม่กระวนกระวาย หากถึงกาลแตกดับ ก็ไปด้วยความสงบเงียบดุจหลับไป” จึงได้ชื่อว่า ท่านเป็นผู้ปฏิบัติได้ผลโดยควรแก่ภาวะโดยแท้

       ท่านเป็นพระนักปกครอง ที่มีอัธยาศัยงาม ให้ความคุ้มครองแก้ผู้น้อย ท่านแสดงธรรมสั่งสอนให้เขาเหล่านั้นเป็นผู้ฉลาด ชี้ให้เห็นเหตุผลแจ่มแจ้ง ใจกว้างเฉลี่ยลาภผลเกื้อกูลแก่เพื่อนพรหมจารี ไปอยู่ที่ไหนก็ยังคุณความดีให้เกิดแก่หมู่เป็น “คณะโสภณะ” ผู้ทำหมู่ให้งาม เป็นผู้ฉลาดในเชิงช่าง

       นอกจากนี้ ท่านยังใส่ใจในการศึกษาของภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา และกุลบุตร กุลธิดามากทั้งภาษาบาลีและไทย เมตตาสั่งสอนให้ได้รู้หนังสือ ท่านมีความสามารถในการอธิบายอรรถธรรมให้เข้าใจ และชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงในสัมมาปฏิบัติ จัดเป็นธรรมกถึกเอก มีเชาวนะปฏิภาณว่องไวเฉียบแหลม วิจารณ์อรรถธรรมอันลุ่มลึกให้แจ่มแจ้ง ท่านแต่งหนังสือไว้ทั้งคำร้อยแก้วทั้งคำกาพย์

       ท่านเกิดในรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ วันศุกร์ เดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ เวลาประมาณ ๕ นาฬิกา ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๑๘ ตรงกับวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๙๙ ที่บ้านหนองไหล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี  เป็นบุตรหัวปีของ หลวงสุโภรสุประการ กรมการเมืองอุบลราชธานี และนางสุโภรสุประการ (แก้ว สุภสร)

       เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี บรรพชาเป็นสามเณรได้ศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ในสำนักอธิการ เทวธัมมี (ม้าว) วัดศรีทอง จังหวัดอุบลราชธานี

       เมื่อปีฉลู พุทธศักราช ๒๔๒๐ ในสมัยรัชกาบที่ ๕ ท่านได้อุปสมบท ณ วัดศรีทอง โดยมี ท่านเทวธัมมี (ม้าว) เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วจึงมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดชัยมงคล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จากนั้นไปศึกษาเล่าเรียนและจำพรรษาในสำนัก วักเทพศิรินทราวาส วัดกันมาตุยาราม วัดบุปผาราม กรุงเทพมหานคร
 

      ถึงปีระกา พุทธศักราช ๒๔๒๘ ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมครั้งแรกที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยค แล้วลาไปปฏิบัติอุปัชฌาย์ที่จังหวัดอุบลราชานี ๒ พรรษา ระหว่างนี้ เจ้ายุติธรรมธร เจ้านครจำปาศักดิ์ สร้างวัดมหาอำมาตย์ ถวายคณะสงฆ์ธรรมยุต จึงอาราธนาท่านไปเป็นเจ้าอาวาสวัดนั้น

       ครั้นถึงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๑๔๓๕ พำนักที่วัดพิชัยญาติการาม ๑ พรรษา แล้วกลับไปอยู่ที่วัดเทพศิรินทร์อีก ต่อจากนั้นได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้ง สอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค จึงโปรดฯ ให้ไปจัดการศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานีได้ ๒ ปีเศษ
 

      ถึงปีกุน พุทธศักราช ๒๔๔๒ ได้รับการตั้งเป็นพระราชาคณะที่ “พระญาณรักขิต” แล้วโปรดฯ ให้เป็นเจ้าคณะมณฑลอีสาน จึงกลับไปอยู่วัดสุปัฏน์ จังหวัดอุบลราชธานี ๕ พรรษา ภายหลังขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตกลับเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ อยู่ที่วัดเทพศิรินทร์บ้าง ไปธุดงค์บ้าง จนถึงปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๔๗ จึงโปรดฯ ให้อาราธนาไปครองวัดบรมนิวาส ถึงปีระกา พ.ศ. ๒๔๕๒ โปรดฯ ให้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ “พระราชกวี”  ถึงรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๗ ทรงโปรดฯ ให้เลื่อน สมณศักดิ์เป็น “พระเทพโมลี”

       ต่อมาถึงพุทธศักราช ๒๔๕๘ ได้แต่งหนังสือเทศน์ เห็นเป็นอันไม่ต้องด้วยรัฐประศาสนโยบายบางประการอันเกี่ยวกับการป้องกันพระราชอาณาจักรจึงถูกถอดจากสมณศักดิ์คราวหนึ่ง

       ครั้นถึงวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๙ ทรงพระกรุณาโปรดฯ กลับตั้งให้เป็นพระราชาคณะที่ “พระธรรมธีรราชมหามุนี” และโปรดฯ ให้ครอง วัดบรมนิวาสตามเดิม
 

      ถึงปีพุทธศักราช ๒๔๖๖ โปรดฯ ให้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น “พระโพธิวงศาจารย์”

       ครั้นถึงปีพุทธศักราช ๒๔๖๘ ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะตำแหน่งเจ้าคณะรองฝ่ายอรัญญวาสีที่ “พระอุบาลีคุณูปมาจารย์” ได้เคยรับราชการทางคณะสงฆ์ในหน้าที่สำคัญฯ หลายตำแหน่งคือ เป็นเจ้าคณะใหญ่ เมืองนครจำปาศักดิ์ เป็นเจ้าคณะมณฑลอีสาน มณฑลจันทบุรี มณฑลราชบุรี และ มณฑลกรุงเทพฯ

       เมื่ออยู่เมืองนครจำปาศักดิ์ ได้ตั้งโรงเรียนขึ้นที่วัดมหาอำมาตย์ (วัดนี้พระยามหาอำมาตย์หรุ่นกับเจ้านครจำปาศักดิ์สร้าง) ให้ชื่อว่า “โรงเรียนบุรพาสยามเขตร” สอนทั้งภาษาบาลี ภาษาไทยและยังได้จัดตั้ง “โรงเรียนอุบลวิทยาคม” ขึ้นที่วัดสุปัฏน์ฯ เช่นกัน ครั้นได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑล ก็ตัดการการศึกษาทั่วไปจนได้เข้ามาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส ได้จัดการศึกษาจองกุลบุตรให้เจริญดังที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้แม้ถึงวัดสิริจันทรนิมิตร ที่เขาบ่องาม (เขาพระงามในปัจจุบัน) จังหวัดลพบุรี และวัดเจดีย์หลวง นครเชียงใหม่ ก็ได้จัดการศึกษาของกุลบุตรให้รุ่งเรืองขึ้นโดยควรแก่ฐานะ

       แม้ในการก่อสร้างปฏิสังขรณ์ ท่านก็ได้สร้างคุณประโยชน์อันมากมาย เช่น การปฏิสังขรณ์ วัดบวรมงคล คือ พระอุโบสถ พระระเบียง ตลอดจนวิหารคต การปฏิสังขรณ์วัดบรมนิวาส คือ พระอุโบสถ และพระอสีติมหาสาวก วิหารคด และพระพิชิตมาร ซึ่งเป็นพระประธานในศาลาอุรุพงษ์ คือ เป็นพระลีลาเก่าอัญเชิญมาจากจังหวัดราชบุรีและได้ให้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นใหม่ เช่นโรงเรียนภาษาบาลี และภาษาไทย สระน้ำ ศาลาอุรุพงษ์ ส่วนของระฆังและหอระฆัง มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนอุรุพงศ์สิริวัฒน์เป็นผู้ร่วมสร้างตลอดจนกุฏิสร้างใหม่ให้เป็นตึกหอเขียว ซึ่งเป็นกุฏิใหม่ในวัดนี้ หม่อมเจ้าหญิงเมาลี หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า หม่อมเจ้าหญิงโอฐอ่อน หม่อมเจ้าหญิงคำขาว และหม่อมเจ้าหญิงรับแข สกุลปราโมทย์ ณ อยุธยา ทรงร่วมกันสร้างด้วยความสามัคคีธรรมแห่งคณะญาติ นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้ประเดิมสร้างวัดเสน่หานุกูล จังหวัดนครปฐม และที่วัดสิริจันทรนิมิต จังหวัดลพบุรีนั้น ท่านได้สร้างพระพุทธปฏิมากร อันมีนามว่า “พระพุทธปฏิภาค มัธยมพุทธกาล” ซึ่งมีหน้าตักกว้าง ๑๑ วา ๑ ศอก สูงทั้งรัศมี ๑๘ วา อีกทั้ง พระอุโบสถ พระประธาน และพระกัจจายน์ วิหาร ตลอดถึงถ้ำและกุฏิ ศาลา บ่อน้ำ ท่านเป็นผู้นำในการสร้างมณฑปวัดบ้านแป้ง จังหวัดสิงห์บุรี

       ท่านละขันธวิบากเข้าสู่แดนแห่งวิมุตติด้วยโรคชรา ด้วยอิริยาบถนั่ง ที่ห้องกลางกุฏิหอเขียว วัดบวรนิวาสด้วยอาการสงบ ปราศจากความกระวนกระวาย เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เวลา ๑๑.๔๐ น. สิริอายุ ๗๗ ปี ๕๕ พรรษา

       ท่านได้รับพระราชทานโกศโถ มีชั้นรองสองชั้น ฉัตรเบญจา ๔ ประกอบศพเป็นเกียรติยศ เมื่อมรณภาพครบ ๑๐๐ วันจึงได้ทำการพระราชทางเพลิงศพ ณ เมรุวัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร
 




พระธาตุบูรพาจารย์

พระธาตุบูรพาจารย์ article
หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล article
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต article
หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม article
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล article
หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ article
หลวงปู่ชอบ ฐานสโม article
หลวงปู่หลุย จันทสาโร article
หลวงปู่ขาว อนาลโย article
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร article
หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ article
หลวงปู่แหวน สุจินโณ article
หลวงปู่กงมา จิรปุณโญ article
ท่านพ่อลี ธัมมธโร article
หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม article
หลวงปู่สาม อกิญจโน article
หลวงปู่คำดี ปภาโส article
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร article
หลวงปู่บัว สิริปุณโณ article
หลวงปู่ชา สุภัทโท article
หลวงปู่เจี๊ยะ จุณโท article
หลวงปู่หล้า เขมปัตโต article
หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ article



dot
พระมหาธาตุ,พระบรมสารีริกธาตุ
dot
bulletเรื่องของพระบรมสารีริกธาตุ
dot
พระอสีติและพระอรหันตธาตุ
dot
dot
พระธาตุบูรพาจารย์ในยุคปัจจุบัน
dot
dot
เจดีย์พระธาตุทั่วไทยและทั่วโลก
dot
dot
หมวดหมู่สินค้า บุษบก บุษบกมาลา
dot
บุษบกมาลา
bulletบุษบกน่ารู้
bulletบุษบก BBC-02 A-B
bulletบุษบก BBC-04
bulletบุษบกมาลา
bulletบุษบก ขนาด 5 นิ้ว
bulletบุษบก ขนาด 6 นิ้ว
bulletบุษบก ขนาด 10 นิ้ว
bulletบุษบก ขนาด 15 นิ้ว
bulletบุษบก ขนาด 17 นิ้ว ปิดทอง
bulletบุษบก ขนาด 17 นิ้ว พ่นทอง
bulletบุษบก ขนาด 21 นิ้ว
bulletบุษบก ขนาด 25 นิ้ว
dot
หมวดหมู่สินค้า ผอบใส่พระธาตุ
dot
bulletผอบทรงโถน้ำมนต์
bulletผอบเลนส์ขยาย
bulletผอบขนาดเล็ก
bulletผอบ PC-07
bulletผอบ PC-09
bulletผอบ PC-15
bulletผอบทรงสูง PTC-12
bulletผอบทรงสูง PTC-15
bulletผอบขนาดใหญ่ 9 นิ้ว
bulletผอบแก้วคริสตัล
dot
หมวดหมู่สินค้า เจดีย์ใส่พระธาตุ
dot
bulletเจดีย์ JC-01
bulletเจดีย์ JC-02
bulletเจดีย์ JC-03
bulletเจดีย์ JC-05
bulletเจดีย์ JC-06
bulletเจดีย์ JC-07
bulletเจดีย์ JC-09
bulletเจดีย์ JC-12
bulletเจดีย์ JC-15
bulletเจดีย์ JC-22
bulletเจดีย์คริสตัล 5 นิ้ว
bulletเจดีย์ผอบ
dot
หมวดหมู่สินค้า งานลงยาโบราณ
dot
bulletงานลงยาประดับสั่งพิเศษ
bulletเจดีย์ฐานกลมลงยา
bulletเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมเล็ก
bulletเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมใหญ่
bulletโกศบรรจุอัฐิธาตุ
bulletแก้วทรงดอกบัวตูม
bulletแว่นแก้วเล็ก
bulletฐานแปดเหลี่ยมยอดเจดีย์
bulletแปดเหลี่ยมผอบ 12 เซน.
dot
หมวดหมู่สินค้า สั่งทำพิเศษ
dot
bulletงานประดับลายไทยพิเศษ




Copyright © 2010 All Rights Reserved.

ร้าน บุษบกทองคำ
ที่อยู่ :  เลขที่ 453 หมู่ 8 ถนน พาน -ป่าแดด.ตำบล :  สันติสุข อำเภอ : พาน
จังหวัด : เชียงราย     รหัสไปรษณีย์ : 57120
เบอร์โทร มือถือ :  0634246256
อีเมล : jedeethai@gmail.com
เว็บไซต์ :www.jedeethai.com